From "waste" to "great world"
แล้วเต่าทะเลล่ะ!!??? 🐢
วิกฤตขยะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญ ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ รวมทั้งสัตว์ทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติก ปัจจุบันหลายประเทศรับรู้ถึงปัญหานี้ และกำลังหาทางแก้ไขกันอย่างจริงจัง แล้วแต่ละประเทศมีวิธีแก้ไขปัญหานี้กันยังไงบ้าง?
สวีเดน ริเริ่มโครงการเผาขยะเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือที่รู้จักกันว่า waste to energy โดยนำขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาเผาเป็นเชื้อเพลิง เพื่อเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน
เนเธอร์แลนด์ นำขยะพลาสติกมามาสร้างเป็นเส้นทางจักรยาน โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดจำนวนขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นปริมาณถึงล้านตันต่อปี
เยอรมนีกำหนดให้ผู้ผลิตต้องติด ‘Green Dot’ นอกบรรจุภัณฑ์เพื่อระบุว่าสินค้าชิ้นนี้จะถูกส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลต่อไป โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ ‘Dual System Germany’ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทเอกชนรวบรวมขยะจากครัวเรือนต่าง ๆ ควบคู่ไปกับระบบเก็บขยะของเทศบาลได้
นอกจากนี้จุฬาของเราก็มีโครงการ CU Zero Waste ซึ่งเป็นโครงการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินงานเพื่อจัดการขยะอย่างครบวงจรด้วยหลักการ Waste Management Hierarchy และ หลัก 3Rs Reduce, Reuse, Recycle มุ่งเน้นการลดหรือป้องกันไม่ให้เกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง เช่น โครงการ My Cup สนับสนุนร้านกาแฟที่ให้ส่วนลดราคาเครื่องดื่มแก่ลูกค้าที่นำแก้วส่วนตัวมาใส่เครื่องดื่ม
จากการดำเนินงานของ Chula Zero Waste จุฬาฯ ลดการใช้ถุงพลาสติกในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปได้ร้อยละ 90 หรือราว 4,700,000 ใบ และมีปริมาณขยะที่แยกและจัดการได้อย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มโครงการถึง 493 ตัน
อย่างไรก็ตามเราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาขยะได้ง่าย ๆ โดยอาจเริ่มต้นจากแยกขยะ ทิ้งให้ถูกที่ ทั้งนี้ หากควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในเรื่องของนโยบายการจัดการขยะจะส่งผลให้การเเก้ปัญหาจะยั่งยืนเเละมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วมาสร้างโลกที่น่าอยู่ไปด้วยกัน