วันมหิดล

หากเอ่ยถึง “งานวิจัย” ภาพจำของเราในฐานะนิสิตอาจเป็นเว็บไซต์ที่รวมวารสาร งานวิจัยตีพิมพ์ต่าง ๆ อย่าง scopus, pubmed หรือภาพจำในฐานะของบัณฑิตอาจนึกถึงปริญญานิพนธ์​ (dissertation)

ทุกคนทราบดีว่า เบื้องลึกเบื้องหลังกว่าจะได้งานวิจัยแต่ละชิ้นออกมานั้นยากลำบากเพียงใด ต้องออกแบบการทดลองใหม่ หรือทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้องลงพื้นที่สำรวจ ทำการสัมภาษณ์คนหลายร้อยหลายพันคน ไม่เพียงเท่านี้ยังต้องเขียนอภิปราย กว่าจะได้ตีพิมพ์ก็ต้องรอการอนุมัติก่อน

ดังนั้น การทำงานวิจัยในแต่ละครั้งจึงต้อง “ลงทุน” มหาศาล ไม่ว่าจะเป็น “แรงกาย” “เวลา” และที่สำคัญที่สุดคือ “เงิน”

หากกล่าวถึงงานวิจัยในแวดวงวิทยาศาสตร์ กว่าจะได้ผลการศึกษาวิจัยหนึ่งออกมาสู่สาธารณชน จะต้องใช้งบประมาณจำนวนหลายแสนไปจนถึงหลักล้านบาท และกินระยะเวลานานหลายปีกว่าจะประสบผลสำเร็จ

แม้ว่าจะลงทุนไปจำนวนมาก.. แต่บางงานวิจัยอาจไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากขนาดนั้น ดังที่มีคนเคยปรามาสว่าเป็น “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ทำให้มีการตั้งคำถามเกิดขึ้นในสังคมว่า “งานวิจัยเหล่านี้ยังควรต้องทำอยู่หรือไม่”

TEDxChulalongkornU ชวนมาอ่านบทสัมภาษณ์จาก อ. ดร. พัชราวลัย วงศ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในบทสัมภาษณ์นี้อาจารย์จะมาตอบคำถามที่ว่า งานวิจัยขึ้นหิ้ง แท้ที่จริงแล้ว “อยู่บนหิ้ง” อย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิดกันหรือไม่ และงานวิจัยเหล่านี้ ยังคงสมควรได้รับการสนับสนุนให้ทำต่อไปหรือไม่